56% ของคนไทยเริ่มหางานใหม่อย่างจริงจัง บริษัทต่าง ๆ แข่งกันเฟ้นหาบคุลากรที่มีความสามารถสูง
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย -
Media OutReach - 6 กันยายน 2566 - ผลการศึกษาที่ทำกับพนักงานทั่วประเทศล่าสุดระบุว่าภูมิทัศน์การจ้างงานในประเทศไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยคนไทยจำนวน 46% ต่างกำลังมองหางานใหม่อยู่ในขณะนี้ อีก 10% กำลังวางแผนที่จะเริ่มหางานใหม่ในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่เคยมีมาก่อนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงพลวัตของตลาดแรงงาน ซึ่งเกิดจากความลื่นไหลที่เพิ่มขึ้นและความต้องการของผู้คนที่จะสำรวจโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ
การศึกษาล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาบุคลากรอย่าง Michael Page Thailand รวบรวมข้อมูลจากพนักงานจำนวน 942 คนในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงาน 1 ใน 2 คนได้เปลี่ยนงานตั้งแต่ที่โควิด-19 ได้เริ่มแพร่ระบาด ข้อมูลนี้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับตัวงาน ซึ่งนำไปสู่ "การปฏิวัติที่มองไม่เห็น" ซึ่งกระทำผ่านลักษณะการย้ายงาน
จากรายงาน Talent Trends ประจำปี 2566 ของ Michael Page Thailand หัวข้อ "The Invisible Revolution" หรือ การปฏิวัติที่มองไม่เห็น ระบุว่า การย้ายงานได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคนไทยจำนวน 9 ใน 10 คนที่เริ่มงานใหม่เมื่อปีที่แล้วกำลังเปิดรับโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ ความคิดที่ยืดหยุ่นต่อความก้าวหน้าในอาชีพได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ โดยคนส่วนใหญ่มองว่าการเปลี่ยนงานเป็นส่วนหนึ่งของในอาชีพของพวกเขา
Kristoffer Paludan ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของ Michael Page ประเทศไทย กล่าวว่า "จากการติดตามมาอย่างต่อเนื่อง พนักงานจำนวน 89% ในประเทศไทยเปิดรับโอกาสด้านอาชีพใหม่ ๆ แม้แต่พนักงานที่พอใจกับงานอยู่แล้วก็ยังมองหาโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่พนักงานชาวไทยกำลังมองหาอยู่นั้นคือรายได้และสวัสดิการที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนที่สูง ความยืดหยุ่นในการทำงาน การเติบโตในสายอาชีพ การให้คุณค่าแก่พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับค่านิยมในด้านต่าง ๆ เช่น ความยั่งยืน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง"
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการหางานใหม่ปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ในความเป็นจริง ประชากรจำนวน 67% มีแนวโน้มที่จะหางานใหม่เมื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจแย่ลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยการสมัครงานใหม่เสมอไป หลังจากการหลั่งไหลย้ายงานที่มากขึ้นทั้งในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนต่างให้ความสำคัญในการหางานที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนอย่างดีที่สุด และทำตามสิ่งที่มองหาทั้งในเรื่องของความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน
Nicholas Kirk ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PageGroup กล่าวว่า "แนวโน้มในประเทศไทยสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาดแรงงานระดับโลก การเปลี่ยนงานได้เกิดขึ้นทุกภูมิภาคและทุกกลุ่มอายุ ทุกตลาด และทุกอุตสาหกรรม
"สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แนวโน้มที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นหรือการตอบสนองต่อความโกลาหลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเชิงโครงสร้างที่บริษัทต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้"
ผลการวิจัยล่าสุดนำมาซึ่งความต้องการเร่งด่วนสำหรับองค์กรในประเทศไทยในการประเมินกลยุทธ์ด้านการสรรหาบุคลากรอีกครั้ง เนื่องจากตลาดแรงงานกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก โดยนายจ้างจะต้องทำมากกว่าการปรับตัวให้เข้ากับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดไว้ ซึ่งการปรับแนวทางให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงนั้น บริษัทต่าง ๆ จะสามารถวางตัวเป็นนายจ้างที่พนักงานต้องการและส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้ได้
การศึกษาล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาบุคลากรอย่าง Michael Page Thailand รวบรวมข้อมูลจากพนักงานจำนวน 942 คนในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงาน 1 ใน 2 คนได้เปลี่ยนงานตั้งแต่ที่โควิด-19 ได้เริ่มแพร่ระบาด ข้อมูลนี้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับตัวงาน ซึ่งนำไปสู่ "การปฏิวัติที่มองไม่เห็น" ซึ่งกระทำผ่านลักษณะการย้ายงาน
จากรายงาน Talent Trends ประจำปี 2566 ของ Michael Page Thailand หัวข้อ "The Invisible Revolution" หรือ การปฏิวัติที่มองไม่เห็น ระบุว่า การย้ายงานได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคนไทยจำนวน 9 ใน 10 คนที่เริ่มงานใหม่เมื่อปีที่แล้วกำลังเปิดรับโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ ความคิดที่ยืดหยุ่นต่อความก้าวหน้าในอาชีพได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ โดยคนส่วนใหญ่มองว่าการเปลี่ยนงานเป็นส่วนหนึ่งของในอาชีพของพวกเขา
Kristoffer Paludan ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของ Michael Page ประเทศไทย กล่าวว่า "จากการติดตามมาอย่างต่อเนื่อง พนักงานจำนวน 89% ในประเทศไทยเปิดรับโอกาสด้านอาชีพใหม่ ๆ แม้แต่พนักงานที่พอใจกับงานอยู่แล้วก็ยังมองหาโอกาสทางอาชีพใหม่ ๆ เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่พนักงานชาวไทยกำลังมองหาอยู่นั้นคือรายได้และสวัสดิการที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนที่สูง ความยืดหยุ่นในการทำงาน การเติบโตในสายอาชีพ การให้คุณค่าแก่พนักงาน รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับค่านิยมในด้านต่าง ๆ เช่น ความยั่งยืน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง"
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการหางานใหม่ปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ในความเป็นจริง ประชากรจำนวน 67% มีแนวโน้มที่จะหางานใหม่เมื่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจแย่ลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยการสมัครงานใหม่เสมอไป หลังจากการหลั่งไหลย้ายงานที่มากขึ้นทั้งในระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้คนต่างให้ความสำคัญในการหางานที่ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนอย่างดีที่สุด และทำตามสิ่งที่มองหาทั้งในเรื่องของความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน
Nicholas Kirk ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PageGroup กล่าวว่า "แนวโน้มในประเทศไทยสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของตลาดแรงงานระดับโลก การเปลี่ยนงานได้เกิดขึ้นทุกภูมิภาคและทุกกลุ่มอายุ ทุกตลาด และทุกอุตสาหกรรม
"สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แนวโน้มที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นหรือการตอบสนองต่อความโกลาหลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเชิงโครงสร้างที่บริษัทต่าง ๆ นำมาใช้เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้"
ผลการวิจัยล่าสุดนำมาซึ่งความต้องการเร่งด่วนสำหรับองค์กรในประเทศไทยในการประเมินกลยุทธ์ด้านการสรรหาบุคลากรอีกครั้ง เนื่องจากตลาดแรงงานกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก โดยนายจ้างจะต้องทำมากกว่าการปรับตัวให้เข้ากับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดไว้ ซึ่งการปรับแนวทางให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงนั้น บริษัทต่าง ๆ จะสามารถวางตัวเป็นนายจ้างที่พนักงานต้องการและส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้ได้
Công ty phát hành chịu trách nhiệm cho nội dung của thông báo này
NGUỒN:
Michael Page
DANH MỤC:
Human Resource
ĐỌC TRONG:
ĐÃ XUẤT BẢN VÀO:
06 Sep 2023 11:55am
Thông cáo báo chí trước đây
Chi tiết hơn
#Human Resource
#Business
21 March 2024 5:25pm HKT
53% of Hong Kong Firms Target GBA for Growth, Driven by Innovation and Market Potential
#Human Resource
#Business
01 August 2023 10:00am HKT